Pages

Tuesday, August 25, 2020

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินสดในยุควิกฤติโควิด-19 - Businesstoday - Businesstoday

bintangsef.blogspot.com

Cash is king คือคำกล่าวที่สำคัญในทางการเงิน หมายถึง เงินสดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดการทางการเงิน เพราะเงินสดเป็นทรัพยากรที่ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ในธุรกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น แม้จะเป็นคำกล่าวในสภาวะธุรกิจทั่วๆ ไป แต่ในยุคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้เรายิ่งตระหนักถึงความสำคัญของเงินสดเพิ่มมากขึ้น เพราะโดยทั่วไปเมื่อเรานึกถึงเงินสด เรามักจะนึกถึงสภาพคล่องของธุรกิจในการมีเงินสดให้เพียงพอสำหรับดำเนินธุรกรรมต่างๆ

แต่ในอีกด้านหนึ่งก็คือ การถือเงินสดไว้จำนวนมากๆ อาจนำไปสู่การสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูง เพราะการถือเงินสดไว้ในมือไม่ได้สร้างผลตอบแทนอะไร หรือผลตอบแทนร้อยละศูนย์ และหากนับผลกระทบที่เกิดจากเงินเฟ้อรวมเข้าไปด้วย ยิ่งจะทำให้รู้สึกว่ามีการสูญเสียมูลค่ามากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และหากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ผู้ถือหุ้นอาจจะรู้สึกว่าการที่บริษัทมีเงินสดมากเกินไปก็ควรจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้มากขึ้น หรือควรนำเงินสดส่วนเกินไปซื้อหุ้นคืนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรน่าจะดีกว่าถือเงินสดไว้เฉยๆ

คำถามสำคัญก็คือธุรกิจควรจะถือเงินสดไว้มากน้อยแค่ไหน โดยทั่วไปเรามักจะแนะนำว่าธุรกิจควรถือเงินสดไว้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในสภาวะวิกฤติเช่นโควิด-19 ในปัจจุบัน การสำรองเงินสดเพิ่มมากขึ้นอาจเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เพราะความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า ความสามารถในการซื้อของลูกค้า หรือความผันผวนทางเศรษฐกิจอนาคตยังมีอีกมาก

- Advertisement -

นอกจากนี้ อาจจะไม่มีร้อยละที่ตายตัวสำหรับสัดส่วนของเงินสดที่บริษัทควรจะถือ เพราะแต่ละธุรกิจอาจจะมีลักษณะและโอกาสการลงทุนที่แตกต่างกัน และแต่ละบริษัทอาจจะต้องกำหนดสัดส่วนเงินสดที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจเอง อย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่งเป็นหัวข้อสำคัญในการบริหารเงินสดให้มีประสิทธิภาพได้ดังนี้

ข้อแรก คือ การเพิ่มความรวดเร็วในการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า ยิ่งเราสามารถเก็บเงินจากลูกค้าได้เร็วเท่าไร โอกาสที่เราจะสามารถนำเงินดังกล่าวมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจก็มีมากยิ่งขึ้น และหากจำเป็นอาจมีการให้ส่วนลดเงินสดเพื่อให้ลูกค้าชำระเร็วขึ้น ทำให้ธุรกิจมีเงินหมุนเวียนได้ดีขึ้น

ข้อสอง คือ การควบคุมหรือลดจำนวนสินค้าคงคลัง (Inventory) ให้เหมาะสม เนื่องจากการมีสินค้าคงค้างจำนวนมากอาจนำไปสู่การใช้จ่ายเงินสดในหลายๆ ด้าน ซึ่งอาจรวมถึงค่าเช่าสถานที่จัดเก็บหรือเงินที่จมลงไปในสินค้าคงคลังที่มีจำนวนมาก ในขณะที่โอกาสขายสินค้าอาจมีน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติโควิด-19 นอกจากนี้ อาจมีการพิจารณาควบคุมการผลิต หรือลดกำลังการผลิต อาจจะช่วยทำให้ควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นในสภาวะที่กำลังซื้อลดลง ก็จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดได้

ข้อสาม คือ การขอยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ให้ยาวมากขึ้น แต่ควรระวังผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในด้านการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ โดยอาจมีการพบปะเพื่อเจรจาต่อรองในเรื่องของการยืดระยะเวลากับเจ้าหนี้อย่างเป็นทางการ ทำให้มีการบริหารเงินสดจ่ายให้คล่องตัวมากขึ้น

ข้อสี่ คือ การวางแผนและจัดการรายจ่ายที่เป็นเงินสดก้อนใหญ่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นตามรอบการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้หรือการจ่ายเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถเตรียมเงินสดไว้ได้อย่างเหมาะสม

ข้อห้า  หากองค์กรมีเงินสดที่ถือไว้มากและยังไม่มีโอกาสลงทุนใหม่ๆ ควรมองหาการลงทุนระยะสั้นๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อเป็นการสร้างผลตอบแทนให้เกิดขึ้น ดีกว่าการถือเงินสดไว้โดยไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ

ข้อหก หากองค์กรมีสินทรัพย์ต่างๆ เช่น ที่ดิน อาคารสำนักงาน หรืออุปกรณ์บางอย่างที่ไม่ได้ใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการค้าในขณะนี้  การขายหรือให้เช่าสินทรัพย์ดังกล่าวนั้นก็จะเป็นการเพิ่มกระแสเงินสดให้กับธุรกิจได้ เช่น ในช่วงที่หลายๆ ธุรกิจให้พนักงานทำงานจากบ้าน (Work from Home) อาจจะมีการให้เช่าพื้นที่สำนักงานให้กับธุรกิจอื่นๆ เข้ามาใช้เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้

ข้อเจ็ด  ในกรณีที่องค์กรมีปัญหาในเรื่องสภาพคล่อง อาจจะใช้วิธีการขายลูกหนี้การค้า (Factoring) หรือสินเชื่อแบบใช้ใบสั่งซื้อขอกู้ (The Invoice Financing) อาจจะเป็นวิธีอื่นๆ ที่สามารถช่วยให้บริษัทมีเงินเข้ามาหมุนเวียนก่อนได้ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนได้ดีขึ้น

ข้อแปด คือ การปรับราคาเพิ่มในบางรายการสินค้าเพื่อขยายมาร์จิ้น (Margin) ของธุรกิจในสินค้าบางรายการที่สามารถทำได้ให้มีกระแสเงินสดรับเพิ่มมากขึ้น แต่การปรับราคานี้ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจ

ข้อเก้า คือ การบริหารรายรับรายจ่ายที่เป็นเงินสดให้ชัดเจนและเป็นระบบ โดยอาจจะมีการบริหารเกี่ยวกับรอบกระแสเงินสดรับและจ่ายให้ใกล้เคียง ทำให้บริษัทไม่ต้องมีการเก็บเงินไว้มากเกินไป หรือขาดเงินสดในบางช่วงเวลา นอกจากนี้ อาจจะมีการคำนวณหา Cash Conversion Cycle หรือวงจรเงินสด  เพื่อให้เห็นว่ารอบระยะเวลาจากที่เริ่มมีการนำวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตจนถึงวันที่ได้รับเงินสดกลับมานั้นใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน เพื่อที่จะได้มีการพิจารณาให้เห็นว่ามีขั้นตอนใดบ้างที่สามารถปรับลดลงให้สามารถมีรอบวงจรเงินสดให้สั้นลงได้

ข้อสุดท้าย คือ การสร้างวัฒนธรรมและรักษาวินัยในการรับและจ่ายเงินสดอย่างเคร่งครัด โดยมีการกำหนดนโยบายการจัดการเงินสดให้ชัดเจน อาจจะมีการตั้งเป้าร้อยละของเงินสดที่เหมาะสมกับธุรกิจเอง และให้มีการสื่อสารให้ชัดเจนเพื่อให้คนในองค์กรเข้าใจเรื่องความสำคัญของการบริหารเงินสดที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่การพยากรณ์รายได้และกำไรทำได้ยากลำบากเช่นในปัจจุบันด้วยปัญหาวิกฤติโควิด-19

โดยสรุปคือ เงินสดถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับทุกองค์กร เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ของธุรกิจให้บรรลุตามวิสัยทัศน์และพันธกิจต่างๆ  และการจัดการเงินสดให้เหมาะสมไม่ใช่เรื่องยาก หากมีแผนงานที่ดีและมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

Let's block ads! (Why?)



"ประสิทธิภาพ" - Google News
August 26, 2020 at 01:00AM
https://ift.tt/32EZ0rF

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินสดในยุควิกฤติโควิด-19 - Businesstoday - Businesstoday
"ประสิทธิภาพ" - Google News
https://ift.tt/36ReCtH

No comments:

Post a Comment